ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลโรงพยาบาล

ที่อยู่ : 215 หมู่ 6 ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี 72150 โทร. 035-586243-6

เจ้าของ/ต้นสังกัด

โรงพยาบาลรัฐบาลต้นสังกัดในส่วนกลาง (กรม/กระทรวง) สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุขต้นสังกัดในพื้นที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี

ลักษณะบริการ

จำนวนเตียงผู้ป่วยใน (ไม่รวมเตียงทารกคลอดปกติ) : 60 เตียง ระดับของการให้บริการ โรงพยาบาลชุมชนขนาด : 60 เตียง

อาคารสถานที่ เทคโนโลยีและอุปกรณ์

สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญ อาคารสถานที่ ได้แก่ อาคารผู้ป่วยนอก อาคารผู้ป่วยนอก 10 เตียง(เดิม) อาคารผู้ป่วยใน 30 เตียง อาคารผู้ป่วยในและห้องคลอด อาคารสงฆ์อาพาธ อาคารซักฟอกและโรงอาหาร อาคารคลังยาและวัสดุโรงไฟฟ้า โรงบำบัดน้ำเสีย ห้องพักขยะ ที่

ตราสัญลักษณ์ ประจำโรงพยาบาลบางปลาม้า

วิสัยทัศน์

โรงพยาบาลชุมชนที่มีระบบบริการและระบบบริหารที่ทันสมัย ได้คุณภาพ บุคลากรมีความสุข

พันธกิจ

1. ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูสภาพ และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพตนเองในชุมชน 2. พัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีคุณภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ 3. พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ 4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีความสุขในการทำงาน 5. เชื่อมโยงการทำงานโดยมีภาคีเครือข่ายสุขภาพมีส่วนร่วม

เข็มมุ่ง/จุดเน้น

Organizational Core Competency ของโรงพยาบาลบางปลาม้า ได้แก่ “ความสามารถในการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพในชุมชน” ประกอบด้วย 1.ความสามารถในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน เป็นความสามารถพื้นฐานของบุคลากรโรงพยาบาลบางปลาม้าในการส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนในทุกกลุ่ม ทั้งในกลุ่มป่วย กลุ่มเสี่ยง กลุ่มดี คลอบคลุมทุกพื้นที่บริการ ทั้งในโรงพยาบาลและชุมชนทั่วทั้งอำเภอบางปลาม้า เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2.ความสามารถในการรักษาพยาบาลในชุมชน เป็นความสามารถในการทำงานรักษาพยาบาลร่วมกันกับเครือข่ายสุขภาพในชุมชน เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อของการรักษาพยาบาลระหว่างโรงพยาบาลและเครือข่ายสุขภาพในชุมชน และประชาชนได้รับบริการรักษาพยาบาลใกล้บ้าน 3.ความสามารถในการป้องกันโรคในชุมชน เป็นความสามารถในการทำงานป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อและการป้องกันภาวะฉุกเฉินต่างๆ เช่น การป้องกันสาธารณภัยต่างๆ การป้องกันอุบัติเหตุจราจร ร่วมกับเครือข่ายสุขภาพในชุมชน เพื่อให้ประชาชนอำเภอบางปลาม้าปลอดภัยจากโรคระบาดและอุบัติภัยต่างๆ 4.ความสามารถในการฟื้นฟูสุขภาพในชุมชน เป็นความสามารถในการทำงานฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยตั้งแต่ในโรงพยาบาลเชื่อมโยงไปยังชุมชน เพื่อให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลฟื้นฟูสุขภาพร่วมกันกับเครือข่ายสุขภาพของชุมชนเอง

ยุทธศาสตร์

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบบริการที่มีคุณภาพ ปลอดภัยครอบคลุมมิติสุขภาพแบบองค์รวม 1.1 การพัฒนาคุณภาพการให้บริการในกลุ่มโรคที่สำคัญ 1.2 การพัฒนาคุณภาพความปลอดภัยของผู้ให้และผู้รับบริการ 1.3 การพัฒนาระบบการดุแลผู้สูงอายุแบบครบวงจร 1.4 การพัฒนาระบบบริการที่ทันสมัย ก้าวหน้า ยุทธศาสตร์ที่ 2 เพิ่มศักยภาพบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ 2.1 จัดให้บริการสร้างเสริมสุขภาพบุคลากร 2.2 ส่งเสริมให้บุคลากรมีความสุขและสร้างเสริมแรงจูงใจ 2.3 บุคลากรในองค์กรและเครือข่ายมีความรู้ ทักษะ และสมรรถนะที่เหมาะสมเพียงพอ ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ และทันสมัย 3.1 พัฒนาระบบ Smart Hospital 3.2 พัฒนาระบบบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาโครงสร้างกายภาพ และสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย เอื้อต่อการสร้างเสริมต่อสุขภาพ 4.1 ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและขยายพื้นที่บริการ มีความสะดวกต่อผู้รับบริการและบุคลากร ยุทธศาสตร์ที่ 5 การอภิบาลระบบสุขภาพระดับพื้นที่อย่างไร้รอยต่อ 5.1.พัฒนาบริการการแพทย์ปฐมภูมิ

ค่านิยม

ค่านิยม BPMH^2 ความหมาย B: Benefit and being the Best การทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมและมุ่งสู่ความเป็นเลิศ P: Professionalism and Participation ความเป็นมืออาชีพและการมีส่วนร่วม ช่วยคิด ช่วยทำ M: Modernization and Management ความทันสมัยและการบริหารจัดการ H: Humanization and Hamonization ความเป็นมนุษย์และความสามัคคีปรองดอง